The development of preoperative screening tool for postoperative
delirium in elderly patients

 เอมปภา ปรีชาธีรศาสตร์
พรนภา นาคโนนหัน
จิราพร เกศพิชญวัฒนา
วัชระ วิไลรัตน์
ปิ่น ศรีประจิตติชัย

บทคัดย่อ
       บทนำ ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุ ทำให้ระดับความรู้สึกตัว การรับรู้ วัน เวลา สถานที่ บุคคล เปลี่ยนแปลง อาการที่พบ คือ เอะอะ โวยวาย หรือเซื่องซึม โดยพบได้ในวันที่ 1-3 หลังผ่าตัด วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพของเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงก่อนผ่าตัดต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุ 

       วัสดุและวิธีการศึกษา เป็นวิจัยเชิงบรรยาย จากการทบทวนวรรณกรรมและพัฒนาจากเครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุหลังผ่าตัด มี 9 ปัจจัยคือ อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติการติดสุรา ความผิดปกติของเชาว์ปัญญาการคิดการรับรู้ ภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัด ประวัติการใช้ยาในกลุ่ม Anticholinergics และ Benzodiazepines ระดับโซเดียมโปแตสเซียมในเลือดไม่สมดุล ระดับฮีโมโกลบิลและฮีมาโตคริตต่ำกว่าปกติ ภาวะทุพโภชนาการ และรับประทานยา ≥ 5 ชนิด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 1.0 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุเพศชายและหญิงที่มีอายุ ≥ 65 ปีขึ้นไป 200 คน เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไป ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หัวใจและทรวงอก และออร์โธปิดิกส์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผลวิจัยค่า Sensitivity 81.50 % Specificity 39.30% Positive Predictive Value 81.40% Negative Predictive Value 60.70% likelihood ratios 2.057 

       สรุป เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นสามารถคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดและทำนายการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

       คำสำคัญ: เครื่องมือคัดกรองความเสี่ยงก่อนผ่าตัด ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด ผู้สูงอายุ

Abstract:

      Introduction: Postoperative delirium (POD) in the elderly patients have sign and symptom; change in consciousness levels, lack of concentration, loss of perception, date, time, place and person, decision making, reasoning deficiencies, duration period in hours or days. Most common on day 1-3 after surgery. Purpose: To develop and test the pre-operative screening tool for post-operative delirium in elderly patients. Material and methods: The study is prospective descriptive for diagnostic testing. Review literature about post-operative delirium risks in elderly patients and to develop the pre-operative screening tool for the post-operative delirium in elderly patients.
There are 9 delirium risks factors which are 1) age, 2) history of alcoholism, 3) intelligence disorders, cognition, awareness, 4) pre-operative depression, 5) history of drug use in Anticholinergics and Benzodiazepines. 6) Unbalanced levels of serum potassium in the blood. 7) Lower hemoglobin and hematocrit levels. 8) Malnutrition and 9) Taking medication ≥ 5 types through the content validation from experts is equal to 1.0, applied to the 200 elderly patients, male and female aged 65 years and older, who are in major surgery in General Surgery Department. Colorectal Surgery Department, Cardiac Surgery Department, Orthopedic Surgery Department at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Result: The results of pre-operative screening tool for the post-operative delirium in elderly patients had 81.50% sensitivity, 39.30% specificity, 81.40% positive predictive value, 60.70% negative predictive value and 2,057 likelihood ratios.       

       Conclusion: The developed tools can be used for screening
of post-operative delirium in elderly patients and the prediction for post-operative delirium is quite accurate.

       Keywords: l Perioperative screening tool postoperative delirium elderly l Older adult
RTA Med J 2020;73(4):231-42.