Attitude towards Nursing Profession, Ethical Behaviors in Nursing Practice
and Perception on Core Competencies of Newly Graduated Nurses
บุษบา เนติสารยาภากร, บุหงา ตโนภาส, เอื้องพร เผ่าเจริญ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล พฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และ
การรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพการ พยาบาล กับพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล กับการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ 4) เปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ระหว่างกลุ่มพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ พยาบาลพี่เลี้ยง และหัวหน้าหอผู้ป่วย
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)
วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ในปี พ.ศ. 2561 และปฏิบัติงาน
ประจำต่อเนื่องระยะเวลา 1 ปี ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จานวน 153 คน 2) พยาบาลพี่เลี้ยงที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นพยาบาลพี่เลี้ยงพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ และ 3) หัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีพยาบาลพี่เลี้ยงและพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ปฏิบัติงานอยู่ร่วมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1)แบบสอบถามทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล (2) แบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และ (3) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Pearson’s product moment correlation coefficient และ One-way ANOVA
ผลการวิจัย: พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่มีทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล พฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการ
พยาบาล และการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับดี-ดีมาก (M=3.85, S.D.=0.32, M=4.34,
S.D.=0.40, M=4.23, S.D.=0.48 ตามลำดับ) ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมจริยธรรม
ในการปฏิบัติการพยาบาลและการรับรู้สมรรถนะหลักขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.606, p<.01 และ
r=.630, p<.01 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และ
สมรรถนะหลักขององค์กรของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย พยาบาลพี่เลี้ยง
และพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ (F=40.07, p.001 และ F=19.77, p.001 ตามลาดับ)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้สามารถประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่
โดยควรส่งเสริมทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาลและเน้นการส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมต่อผู้ป่วยด้านการบอกความ
จริง รวมทั้งสมรรถนะของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำความรู้มา
แลกเปลี่ยนแบ่งปันกับเพื่อนร่วมงานและการบริหารแผนการทำงาน
คำสำคัญ: ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล, พฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล, การรับรู้สมรรถนะหลัก
ขององค์กร, พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่
Abstract
Purpose: The purposes of this research are to study 1) attitude towards nursing profession, ethical
behaviors in nursing practice and perception on core competency; 2) the relationship between
attitude towards nursing profession and ethical behaviors in nursing practices of newly graduated
nurses; 3) the relationship between attitude towards nursing profession and perceptions of core
competency of newly graduated nurses; and 4) comparison of differences of ethical behaviors in
nursing practices and perceptions of core competencies among newly graduated nurses, preceptor
nurses, and head nurses.
Design: Descriptive research
Method: The samples consisted of 1) newly graduated of 153 nurses in 2018 and continue working at
KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL and THAI REDCROSS SOCIETY 2) preceptor nurses that
was assigned from head nurses and 3) head nurses of the ward where preceptor nurses and newly
graduated nurses were working together. The research instruments consisted of attitudes toward nursing profession questionnaire, ethical behaviors in nursing practice questionnaire and perception of core competencies questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’ s product
moment correlation coefficient and one way ANOVA.
Main findings: The results revealed that the mean score of attitude towards nursing profession,
ethical behaviors in nursing practices and perceptions of core competencies of newly graduated
nurses were at high level (M=3.85, S.D.=0.32, M=4.34, S.D.=0.40, M=4.23, S.D.=0.48, respectively).
Attitudes towards nursing professional had statistically positive relationship with ethical behaviors in
nursing practice and perception of core competencies (r=.606, p<.01, r=.630, p<.01, respectively). In
addition, the research showed that ethical behaviors in nursing practice and perception of core
competencies in newly graduated nurses were statistically different among head nurses, preceptor
nurses, and newly graduated nurses (F=40.07, p<.001 and F=19.77, p<.001, respectively).
Conclusion and recommendations: The result of this study could be applied to the direction of
plan development by promoting attitude towards nursing profession emphasizing on ethical
behaviors in truth telling. Also, core competencies in result-oriented improvement dimension,
specifically in the knowledge sharing and managing working plans should be carried out.
Keywords: Attitude towards nursing profession, Ethical behaviors in nursing practice, Perception
of core competencies, Newly graduated nurses