Mental health literacy and quality of life among patients with stroke

วชิรา โพธิ์ใส, ราตรี บุญชู, ดวงกมล วัตราดุลย์, คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์ และ ปราโมทย์ ถ่างกระโทก

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 150 ราย ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางคลินิก 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต มีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.92 และ 3) แบบวัดคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฉบับภาษาไทย มีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟาเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 51.80 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.62 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.33 ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 3.05, SD = 0.21) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (mean =3.06, SD = 0.66) ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.484, p <.001)

สรุป ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น การสร้างเสริมให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คำสำคัญ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต คุณภาพชีวิต โรคหลอดเลือดสมอง
 
Objectives
To study the level of mental health literacy and quality of life among patients with
stroke and to investigate the relationship between mental health literacy and quality of life.
Methods
A cross-sectional descriptive study was conducted with 150 purposively selected stroke
patients at Sanpasithiprasong Hospital, Ubon Ratchathani, Thailand. Data were collected from October 2019 to March 2020. The research tool consisted of 3 parts: general and clinical data, a mental
health literacy questionnaire, and the Thai version of the stroke-specific quality of life scale. Data
were analyzed using descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient.
Results
The mean age of participants was 51.80 years (SD 8.62); most were female (65.33%). The
level of mental health literacy among patients with stroke was moderate (mean = 3.05, SD = 0.21).
The quality of life among patients with stroke was moderate (mean = 3.06, SD = 0.66). The mental
health literacy questionnaire yielded a Cronbach’s alpha coefficient of 0.92, and the Thai version of
the stroke-specific quality of life scale yielded a Cronbach’s alpha coefficient of 0.96. Mental health
literacy was statistically significantly associated with quality of life among patients with stroke (r =
0.484, p< .001).
Conclusions
The mental health literacy among patients with stroke was moderate as was their quality
of life. Mental health literacy was significantly associated with quality of life among patients with
stroke. This suggests that emphasizing and promoting mental health literacy among patients with
stroke can improve and increase their quality of life.
Chiang Mai Medical Journal 2021;60(1):63-74.
doi 10.12982/CMUMEDJ.2021.06
Keywords: mental health literacy, quality of life, stroke