Effect of Empowerment Program and Infographics on Contraceptive Implant Used for Repeated Adolescent Pregnancy Prevention

วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย ปีที่ 13 ฉ.2 ก.ค.-ธ.ค. 63

ปรียารัตน์ รัตนวิบูลย์** ศุภาว์ เผือกเทศ***

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง ศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจร่วมกับการ
ให้ความรู้ผ่านสื่ออินโฟกราฟิกต่อการตัดสินใจฝังยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ
กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นหลังคลอด ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จำนวน 80 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 40 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจตามแนวคิดการสร้างเสริมพลังอำนาจของ Gibson ประกอบด้วย การค้นหาสภาพการณ์จริง การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจเลือกปฏิบัติ และการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2 ส่วน 1) เครื่องมือในการทดลอง คือ โปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจ และสื่ออินโฟกราฟิกภาพเคลื่อนไหว (motion graphic) เรื่อง “การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น” ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน 2) เครื่องมือการเก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่วัยรุ่นเลือกใช้ ทดสอบความแตกต่างของจำนวนวัยรุ่นหลังคลอดที่เลือกฝังยาคุมกำเนิดหลังคลอดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Chi-square

     ผลการวิจัยพบว่า จำนวนวัยรุ่นหลังคลอดที่เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจเลือกฝังยาคุมกำเนิดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2 = 6.054, p < .05) ดังนั้นทีมสุขภาพควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างพลังอำนาจให้วัยรุ่นหลังคลอดเลือกใช้วิธีการฝังยาคุมกำเนิดเพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น

คำสำคัญ : โปรแกรมการสร้างเสริมพลังอำนาจ ยาฝังคุมกำเนิด สื่ออินโฟกราฟิก การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น

 

Abstract

               This was a quasi–experimental research aimed to study the effect of an empowerment program and accompanying infographics for implanted contraceptive for repeated adolescent pregnancy prevention. The sample was 80 adolescent postpartum young women at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital divided into two groups, half in the control group and half in the experimental. The control group received normal nursing, while the experimental group received the empowerment program according to the stages of Gibson’s concept, including: (1) discovering reality, (2) critical reflection, (3) taking charge, and (4) holding on. The material for the experimental group was the empowerment program and motion graphic titled, “Prevention of Repeated Adolescent Pregnancy”. The tools for data collection were a record sheet for the contraceptive method that the sample used to prevent repeated pregnancy. Chi–square test was used to analyze the data.

                 The results revealed that adolescent postpartum women in the experimental group decided to use contraceptive implants for the prevention of repeated pregnancy at a significantly higher rate than the control group (x2 = 6.054, P< .05), It is therefore recommended that healthcare teams should apply this empowerment program to adolescent postpartum women who decide to use contraceptive implants for reducing the chance of repeated adolescent pregnancy.

Keywordsempowerment program, contraceptive implant, infographics media, repeated adolescent pregnancy prevention