Intensive Care Experiences of Patients in Medical ICU: a Mixed-Method Study

VAJIRA NURSING JOURNAL Vol. 22 No. 2 (2020): July – December

มลธิรา อุดชุมพิสัย * นภาพร พีรกวี **

บทคัดย่อ
     การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับและลักษณะประสบการณ์การได้รับการดูแล
ในภาวะวิกฤตของผู้ป่วยในไอซียูทางอายุรกรรม โดยใช้กรอบแนวคิด Timing It Right (TIR) กลุ่มตัวอย่างได้รับ
การคัดเลือกตามเกณฑ์จานวน 70 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย
แบบสอบถามประสบการณ์การได้รับการดูแลในภาวะวิกฤต (มี 4 ด้านประกอบด้วย ด้านการตระหนักรู้
ต่อสิ่งแวดล้อม ด้านการรับรู้ประสบการณ์ที่ทาให้ตื่นตระหนก ด้านประสบการณ์ที่เปนความทรงจา และ
ด้านความพึงพอใจต่อการดูแล) และการสัมภาษณ์ด้วยแนวคาถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ด้วยสถิติบรรยาย และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา นาผลที่ได้มาตีความปรากฏการณ์ของ
ประสบการณ์การได้รับการดูแลในภาวะวิกฤตของผู้ป่วยในไอซียูทางอายุรกรรมร่วมกัน
ผลการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 97.1 รับรู้ประสบการณ์การได้รับการดูแลในภาวะวิกฤตด้าน
การตระหนักรู้ต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง (Mean 37.4; SD 4.3) โดยกลุ่มตัวอย่างรู้สึกตัวอยู่เสมอขณะอยู่ในห้อง
ไอซียู และรู้สึกว่าไอซียูเปนสถานที่ที่ปลอดภัยเปนข้อคิดเห็นที่มากที่สุด ด้านประสบการณ์ที่ทาให้ตื่นตระหนก
กลุ่มตัวอย่างจานวนร้อยละ 61.4 มีการรับรู้อยู่ในระดับต่า (Mean 12.5; SD 4.6) โดยระบุว่ารู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า
ไม่ได้รับการช่วยเหลือ และรู้สึกว่าตนเองกาลังจะตายเปนข้อคิดเห็นที่มีจานวนมากที่สุด ด้านประสบการณ์
ที่เปนความทรงจา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.6 รับรู้อยู่ในระดับสูง (Mean 15.8; SD 4.7) โดยระบุข้อคิดเห็นว่า
จดจาเรื่องราวขณะเข้ารับการรักษาในไอซียูได้ตลอดเวลา และจาได้ว่าเปนช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน
เปนจานวนมากที่สุด และด้านความพึงพอใจต่อการดูแล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 85.7 รับรู้อยู่ในระดับสูง (Mean
16.1; SD 2.9) โดยข้อคิดเห็นที่มีจานวนมากที่สุดคือรู้สึกว่าได้รับการบริการดีอยู่แล้ว และไม่มีเสียงดังรบกวนเลย
ผลการศึกษาที่ได้เปนแนวทางสาหรับบุคลากรสุขภาพในการพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตใน
ไอซียูทางอายุรกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างครอบคลุมเปนองค์รวม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว
ในการดูแลผู้ป่วย และเพิ่มความพึงพอใจต่อการดูแลรักษา

คำสำคัญ : ประสบการณ์การได้รับการดูแลในภาวะวิกฤต, ผู้ป่วยในไอซียูทางอายุรกรรม, การวิจัยแบบผสานวิธี

 

Abstract

     This mixed-method study aimed to study the level and characteristics of intensive care experiences of patients in the medical ICU. Timing It Right (TIR) was employed as a conceptual framework. Seventy participants, who met the inclusion criteria, were enrolled in the study. Data collection involved questionnaires inquiring about the patients’ personal information and intensive care experiences (four dimensions—awareness of surroundings, frightening experiences, experience recall, and satisfaction with care) as well as interviews with open-ended questions. Descriptive statistics were used to analyses the quantitative data and content analyses were used to scrutinize qualitative information. Then, interpretation together both the data with the aim of describing the phenomena related to the experiences of medical ICU patients.

     The findings revealed that 97.1% of the participants perceived intensive care experiences having a high awareness level of their surroundings (mean 37.4; SD 4.3), they always knew what was happening and felt safe with being in ICU were the most mentioned. Meanwhile, the intensive care experiences regarding the frightening experiences dimension were found to be of a low level (mean 12.5; SD 4.6), the patients tended to feel helpless and think they would die were the largest number. Concerning recall of experience, a high-level perception score was found among 58.6% of the participants (mean 15.8; SD 4.7), most patients remembered a lot of their ICU experiences and knew whether it was day or night. Finally, a high satisfaction level with care was reported by 85.7% of the participants (mean 16.1; SD 2.9), the most they perceived the care in ICU was as good as it could have been, and that it was not noisy. 

     The results of this study could guide the healthcare team in improving the clinical practice guidelines related to caring for critically-ill patients with the aims of ensuring the provision of holistic care, supporting family engagement, and improving the satisfaction with care of medical ICU patients. 

Keywords : intensive care experiences, patients in medical ICU, mixed-method study