A National Survey of Ethics System and Mechanisms in Nursing Organisations as Perceived by Nursing Directors in Thailand
วารสารสภาการพยาบาล Vol. 36 No. 03 (2021): กรกฎาคม-กันยายน 2564
ทัศนา บุญทอง, อรัญญา เชาวลิต, ศิริพร ขัมภลิขิต, ทัศนีย์ นะแส, สุรีพร ธนศิลป์, กนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ์,
พรรณทิพา เวชรังษี, บุษบา เนติสารยาภากร,สุนทราวดี เธียรพิเชฐ, เสาวรส จันทมาศ
Abstract
วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบและกลไกจริยธรรมขององค์กรพยาบาลในประเทศไทยกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมและพัฒนาทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมและเปรียบเทียบปัจจัยส่งเสริมปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและความต้องการการสนับสนุนในการพัฒนาระบบและกลไกจริยธรรมขององค์กรพยาบาล
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจระดับประเทศ
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าพยาบาล/ผู้แทน 480 คน ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลเอกชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสำรวจระบบและกลไกจริยธรรมขององค์กรพยาบาลที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณา และการทดสอบทีอิสระ (independent t-test)
ผลการวิจัย: ส่วนน้อยขององค์กรพยาบาลมีคณะกรรมการจริยธรรมทางการพยาบาลในการดำเนินงานด้านจริยธรรม (ร้อยละ 39.4) ในขณะที่มากกว่าครึ่งขององค์กรพยาบาลดำเนินงานด้านจริยธรรมโดยคณะกรรมการอื่นในโรงพยาบาล (ร้อยละ 52.5) และมีจำนวนน้อยมากที่ดำเนินงานด้านจริยธรรมโดยมอบหมายพยาบาลเป็นรายบุคคล (ร้อยละ 8.1) องค์กรพยาบาลส่วนใหญ่มีนโยบายจริยธรรม (ร้อยละ 90.8) แผนปฏิบัติการประจำปีด้านจริยธรรม (ร้อยละ 73.3) และแผนยุทธศาสตร์ด้านจริยธรรม (ร้อยละ 67.1) ในองค์กรพยาบาลที่มีคณะกรรมการจริยธรรมทางการพยาบาลเกือบทั้งหมด มีการส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมและพัฒนาทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาล โดยการจัดทำแนวปฏิบัติด้านจริยธรรม (ร้อยละ 94.2) ผู้บริหารองค์กรพยาบาลที่มีคณะกรรมการจริยธรรมทางการพยาบาล และที่มีคณะกรรมการอื่น รับรู้ปัจจัยส่งเสริมทั้งด้านนโยบาย ด้านองค์กรพยาบาล และด้านบุคลากร รวมทั้งความต้องการการสนับสนุนจากสภาการพยาบาลไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามผู้บริหารองค์กรพยาบาลที่มีคณะกรรมการจริยธรรมทางการพยาบาล รับรู้ปัจจัยอุปสรรคทั้งด้านนโยบาย ด้านองค์กรพยาบาล และด้านบุคลากร รวมทั้งมีความต้องการ
การสนับสนุนจากโรงพยาบาล น้อยกว่าผู้บริหารองค์กรพยาบาลที่มีคณะกรรมการอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้องค์กรทั้งสองกลุ่มมีความต้องการการสนับสนุนทั้งจากโรงพยาบาลและจากสภาการพยาบาลค่อนข้างสูง
ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยสะท้อนว่าการพัฒนาระบบและกลไกจริยธรรมขององค์กรพยาบาลในประเทศไทย ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น การสนับสนุนทั้งจากโรงพยาบาล และจากสภาการพยาบาล มีความสำคัญอย่างมากต่อการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายในการส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมและพัฒนาทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาล
Abstract:
Objective: To explore components of the ethics system and mechanisms in nursing organisations
in Thailand, with a focus on activities promoting nurses’ ethical behaviours and enhancing ethical
decision-making skills, and to compare supporting factors, inhibiting factors, and need of support
for the development of nursing ethics system and mechanisms in nursing organisations.
Design: National survey
Methodology: The sample comprised 480 nursing directors/representatives from university hospitals, medical centers, general hospitals, community hospitals, and private hospitals in Thailand.
Data were collected by the Ethics System and Mechanisms Survey which was developed by the researchers. Descriptive statistics and independent t-test were used for data analysis.
Results: Less than half of the nursing organisations had nursing ethics committee in place, whilst
slightly more than half of the organisations (52.5%), and only a few (8.1 %) had their ethics-related
duties conducted by other committees in the hospitals and by individually assigned nurses, respectively.
Nearly all of the nursing organisations (90.8%) had ethics policies, 73.3% had annual ethics operation
plans, and 67.1% had strategic ethics plans. Almost all of nursing organisations with ethics committee
in place (92.4 %) exercised promotion of ethical behaviours and conducted ethical decision-making
skills development for their nurses, through implementation of ethical practice guidelines.
Administrators of the nursing organisations equipped with nursing ethics committee and of those equipped with other committees had no differences in perceived supporting factors regarding
policy, organisation, and personnel, and the need to be supported by the Nursing and Midwifery Council.
Administrators of the nursing organisations with nursing ethics committees in place displayed significantly less perception of inhibiting factors regarding policy, organisation, and personnel, as well as significantly less need for the hospitals’ support than those with other committees. Nonetheless, both these groups of organisations were considerably highly in need of support from hospitals and Nursing and Midwifery Council.
Recommendations:
A reflected in the study, the development of nursing ethics system and
mechanisms in Thailand is at an early stage. Support from their own hospitals and Thailand Nursing
and Midwifery Council would be vital to achieving the goals of advancing nurses’ ethical behaviours
and ethical decision-making skills
Keywords: national survey, ethics mechanisms, ethics system, nursing ethics, nursing organisations