Healthcare Problems and Healthcare Service Accessibility for Children
with Craniofacial Anomalies: Caregivers’ Perceptions

นันทกา สวัสดิพานิช*
บุศรา ชัยทัศน์.**
อาทิติยา แดงสมบูรณ์***
 
บทคัดย่อ:
     วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัญหาการดูแลสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพของเด็กที่มี ความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะแต่กําเนิดตามการรับรู้ของผู้ดูแล
     การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
     วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลักของเด็กที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ระดับตติยภูมิขั้นสูงแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จํานวน 121 ราย เลือกด้วยวิธีแบบสะดวกและ กําหนดเกณฑ์การคัดเข้า-คัดออก โดยให้ตอบแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ปัญหาการ ดูแลสุขภาพเด็กและการเข้าถึงบริการสุขภาพและทําการสนทนากลุ่มกับผู้ดูแลอีก 13 ราย ที่คัดเลือก ด้วยวิธีแบบเจาะจง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติบรรยายและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการวิจัย: ผู้ดูแลมีการรับรู้ปัญหาการดูแลสุขภาพของเด็กโดยรวมอยู่ในระดับต่ํา (ร้อยละ 80.20) ในขณะที่รับรู้การเข้าถึงบริการสุขภาพของเด็กโดยรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 75.20) ข้อมูล เชิงคุณภาพสะท้อนปัญหาการดูแลสุขภาพเด็กใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ดูแลยากหลากปัญหา ต้อง มาพบแพทย์บ่อย 2) มีปัญหาด้านจิตใจ คิดอยากให้สังคมเข้าใจและยอมรับ และ 3) ค่าใช้จ่ายสูงใน การดูแลและการเดินทาง ส่วนการเข้าถึงบริการสุขภาพของเด็กพบ 2 ประเด็นหลัก คือ ข้อมูลความ เชี่ยวชาญเฉพาะทางของโรงพยาบาลและแพทย์คือสิ่งชี้นําการตัดสินใจและมุมมองและเครือข่ายของ ทีมสุขภาพมีผลต่อหนทางการรักษา
     ข้อเสนอแนะ: บุคลากรทีมสุขภาพควรช่วยเหลือเด็กที่มีความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ แต่กําเนิดที่มีปัญหาสุขภาพรุนแรงและซับซ้อนให้เข้าถึงบริการสุขภาพโดยการส่งต่อเพื่อมารับการ รักษาในโรงพยาบาลที่มีศูนย์แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะตั้งแต่ระยะขวบปีแรก
     คําสําคัญ: ปัญหาการดูแลสุขภาพ/การเข้าถึงบริการสุขภาพ / ความพิการบนใบหน้าและ กะโหลกศีรษะแต่กําเนิด

Abstract

     Objective: To explore caregivers’ perceptions regarding healthcare and healthcare service accessibility problems faced by children with craniofacial anomalies Design: Descriptive research
Methodology: The primary participants, recruited using convenience sampling and inclusion/exclusion criteria, were 121 primary caregivers of children with non-cleft craniofacial anomalies treated at a super-tertiary hospital in Bangkok. Data from the primary participants were collected via three questionnaires, on personal information, child care problem perceptions, and access to health services. The secondary participants were 13 purposively sampled caregivers, who supplied additional data via focus group discussions. The data were collected between October 2018 and September 2019 and analysed using descriptive statistics and content analysis.
     Results: More than four-fifths (80.20%) of the caregivers had a low degree of overall perception of children’s healthcare problems, whereas about three-fourths (75.20%) displayed a high degree of overall perception of children’s access to healthcare services. The qualitative data revealed three major aspects of child healthcare problems, namely, (1) caring difficulty, variety of problems, and frequent hospital visits; (2) mental problems and demand for social
understanding and acceptance; and (3) high care and travel expenses. Regarding access to child healthcare services, two issues were identified. First, information on the hospital’s and physician’s specialisation played an important part in decision-making. Second, the healthcare team’s perspective and network could affect the method of treatment.
Recommendations: Healthcare team members are advised to assist children with congenital craniofacial anomalies who are faced with severe and complex health problems to have better and quicker access to healthcare services through referrals to super-tertiary hospitals for appropriate treatment during the first year of life.

Keywords: healthcare problems, health services accessibility, congenital craniofacial anomalies