Resilience in Older Adults at Wellness Center

Journal of The Royal Thai Army Nurses Vol. 21 No. 3 September – December 2020

ปณิชา บุญสวัสดิ์
ไอศวรรย์ เพชรล่อเหลียน จุฑาภรณ์ ทองบุญชู
วันเพ็ญ รัตนวิชา
ญานิศา ดวงเดือน

บทคัดย่อ
     การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาพลังสุขภาพจิตผู้สูงอายุจำนวน 200 คน ที่มารับบริการ ณ คลินิกผู้สูงอายุสุขภาพดี ตึก สธ.
4 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่มกราคม ถึง สิงหาคม 2563 อาสาสมัครตอบแบบสอบถาม 2 ชุด เป็นข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินพลังสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุไทย จำนวน 24 ข้อ วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย
     ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 85.0) ผู้สูงอายุตอนต้น 60 – 69ปี (ร้อยละ 62.0) สถานภาพ
สมรสคู่ (ร้อยละ 49.0) นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 95.5) ส่วนใหญ่การศึกษาระดับ ปริญญาตรี (ร้อยละ 52) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับ
รู้ว่ามีภาวะสุขภาพแข็งแรงดี (ร้อยละ 53.0) ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 70.5) ทุกคน มีรายได้เพียงพอในการดำเนินชีวิต
ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ความทุกข์ยาก (ร้อยละ 63.0) มีสาเหตุหลักจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (ร้อยละ 20.0) กลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนพลังสุขภาพจิตรวมอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ57.5) และระดับมากที่สุด (ร้อยละ 42.5) พบว่าด้านความเข้มแข็งของจิตใจ มีคะแนนระดับมากที่สุด (ร้อยละ 51.0)
     ข้อเสนอแนะ ผลวิจัยสะท้อนว่าผู้สูงอายุตอนต้นรับรู้ว่าตนมีสุขภาพดีและมีพลังสุขภาพจิตระดับสูงแม้จะมีโรคประจ􀄞ำตัว
และผ่านประสบการณ์ความทุกข์ยากในชีวิต ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เป็นแนวทางบูรณาการเสริมสร้างสุขภาวะในผู้สูงอายุไทย
เพื่อช่วยปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงด้าน กาย จิต สังคม เศรษฐกิจได้ต่อไป
คำสำคัญ : พลังสุขภาพจิตผู้สูงอายุ คลินิกผู้สูงอายุสุขภาพดี ประสบการณ์ความทุกข์ยาก การรับรู้ภาวะสุขภาพ การเห็นคุณค่า
ในตนเอง

Abstract:
     This survey research aims to study the Resilience Quotient of the 200 elderly people who came to
receive services at the Healthy Aging Clinic, Chulalongkorn Memorial Hospital, The Thai Red Cross Society from January to August 2020.These volunteers replied 2 sets of questionnaires with 24 issues comprised of the general information and the elderly’s resilience then analyzed by descriptive statistics.
The results of the study were mainly female (85%), the early elderly of 60 – 69 year old (62%) marital
status (49.0%), Buddhism (95.5%), mostly graduated Bachelor’s degree (52%). Most of the elderly perceived themselves healthy (53.0%). Most of them had underlying diseases (70.5%) and all had sufficient income to carry on their lives. Most of them experienced adversity (63.0%) which mainly due to the loss of their beloved ones (20%). Their total resilience is at the high level (57.5 %) followed by at the highest level (42.5 %). Their mental strength found at the highest score (51.0 %).
Recommendations reflect from the research results found that the early elderly perceive themselves
healthy and have a high level of resilience, despite of having some of the underlying diseases as well as
experienced life’s adversity. These findings could be used as an integrated approach to promote all
well-being of the Thai elderly for their adjustment in any kind of changes: physically, mentally, socially, and economically.
Keywords: resilience in older adults, healthy aging clinic, experienced life’s adversity, health perception,
self- esteem