Decision making experiences of critical care nurses during transition from advanced life support to end-of-life care: Hermeneutic phenomenology

Vol. 43 No. 2 (2020): Journal of Nursing Science and Health (April-June)

นภาพร พีรกวี, มลธิรา อุดชุมพิสัย

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์ การตัดสินใจของพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตเกี่ยวกับการดูแลช่วงเปลี่ยนผ่านจากการช่วยชีวิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงสู่ การดูแลระยะท้ายในหอผู้ป่วยวิกฤต ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตที่ให้การดูแลระยะประคับประคอง จํานวน 21 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รายบุคคลแบบเจาะลึก การถอดบทสัมภาษณ์แบบคําต่อคําและ การบันทึกข้อมูลภาคสนามวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตีความตามแบบของซาร์ยเออร์สร้างความ น่าเชื่อถือของงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เกณฑ์ของลินคอล์นและกูบา

       ผลการศึกษาพบว่าความหมายของประสบการณ์การตัดสินใจของพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตช่วงเปลี่ยน ผ่านจากการช่วยชีวิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงสู่การดูแลระยะท้ายมี 5 ด้านคือ 1) ผู้ป่วยไปต่อไม่ได้ 2) เป็นกระบอก เสียงแทนผู้ป่วย 3) ร่วมกันหาทางออก 4) แลกเปลี่ยนข้อมูลกับครอบครัวอย่างต่อเนื่อง และ 5) ส่งเสริม การเสียชีวิตอย่างสงบ ผลการวิจัยช่วยให้เข้าใจประสบการณ์การตัดสินใจของพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งเป็น ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลระยะท้ายในหอผู้ป่วยวิกฤต คําสําคัญ: การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย การช่วยชีวิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง การตัดสินใจ ประสบการณ์ของพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤต

Abstract

      This qualitative study, which was based on hermeneutic phenomenology, aimed to describe decision making experience of critical care nurses that related to care during the transition from advanced life support to end-of-life care in Intensive Care Unit (ICU). The study was conducted on 21 ICU nurses who had provided end-of-life care. Data were collected using individual in-depth interviews, verbatim transcription, and field note. Content analysis of Schreier’s method was used to analyze and interpret the data. Trustworthiness was established by following the Lincoln and Guba’s criteria.

      Meaning of decision making experience of critical care nurses during the transition from advanced life support to end-of-life care was emerged from the data in five main themes: 1) the patient cannot move on, 2) advocacy for the patient, 3) find out for the solution together, 4) continuous exchange of information with family, and 5) supporting for good death. The findings provide a better understanding of the decision making experience of ICU nurses that would be useful in improving the quality of end-of-life care in ICUs.