Health Care Management in Temporary Shelter for The Thai Red Cross Society

วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย
ปีที่ 12 ฉ.2
ก.ค.-ธ.ค. 62
วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย
ปีที่ 12 ฉ.2
ก.ค.-ธ.ค. 62
 

กฤวิสรา ธนเพิ่มพร, อภิชัย อังสพัทธ์, เต็มดวง บุญเปี่ยมศักดิ์

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการด้านสุขภาพในศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับสภากาชาดไทย และเพื่อให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการด้านสุขภาพในศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับสภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำ นวน 28 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสภากาชาดไทย ผู้เชี่ยวชาญการจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว และผู้ปฏิบัติงานสภากาชาดไทย วิธีดำ เนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามชนิดปลายเปิดในประเด็นที่กำ หนดให้ ขั้นตอนที่ 2 แบบสอบถามโดยการนำคำตอบของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์เนื้อหาสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าตามระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 ส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันคำตอบวิเคราะห์สรุปผลการศึกษา โดยหาค่ามัธยฐาน (Md) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IR) เพื่อสรุปผลการวิจัย

      ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดการด้านสุขภาพในศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับสภากาชาดไทย ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยนำ เข้า ประกอบด้วย 4 ด้าน เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่ควรมีในศูนย์พักพิงชั่วคราว 2) กระบวนการ ประกอบด้วย 6 ด้าน เกี่ยวกับการจัดการในด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ 3) สภาพแวดล้อม ประกอบด้วย 2 ด้าน เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ควรมีในศูนย์พักพิงชั่วคราวและ 4) ผลผลิต ประกอบด้วย 1 ด้าน เกี่ยวกับผลที่ผู้ประสบภัยควรได้รับในศูนย์พักพิงชั่วคราว

Abstract

      The purpose of this research was to study health care management guidelines in a temporary shelter for the Thai Red Cross Society. And to obtain a policy proposal on health care management in the temporary shelter for the Thai Red Cross Society. This research provides the foundations of the Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) based on a sampling group of 28 experts, Thai Red Cross Society executives, experts in temporary shelter management and staff of the Thai Red Cross Society. The research methodology was carried out in three rounds. In the first, open-ended questionnaires were used to identify the restricted main point. In the second round, the qualitative data from the first round were analyzed using content analysis for developing the rating scale questionnaire. All the items in the questionnaire were ranked by level of expected roles by a panel of experts. In round three, a new questionnaire was sent to the previous respondents to confirm the previously ranked items. The data were analyzed using median and interquartile range for summarizing in the study.

The results revealed that the health care management in temporary shelter for the Thai Red Cross Society consists of 4 factors as follows: 1) input factors consist of 4 items regarding various factors; 2) the process consists of 6 items about management in various factors that affect health; 3) the environment consists of 2 items about the environment in temporary shelters; and 4) the product consists of 1 item about the effects that victims receive in temporary shelters.

      The results of this research study suggest the development of health care management in the temporary shelter of The Thai Red Cross Society.