Predicting factors of preventive behaviors of coronary heart disease and stroke among menopausal women

วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก Vol. 31 No. 1 (2020): January – June

ฉัตรกมล ประจวบลาภ, ดวงกมล วัตราดุลย์

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองในหญิงวัยหมดประจำเดือน จากปัจจัยร่วม ได้แก่ ค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้อุปสรรคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองในหญิงวัยหมดประจำเดือน ตามแนวคิดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) กลุ่มตัวอย่างเลือกตามเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 100 ราย ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรค และการสัมภาษณ์เชิงลึก เกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา สถิติถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

        ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 74.0) มีการรับรู้ประโยชน์พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง (β = .58, p < .001) ปัจจัยดัชนีมวลกาย (β = -1.57, p < .05) สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ร้อยละ 35.8 (R2 = .358) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง คือ ขาดการรับรู้ว่าตนเองมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง และขาดแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพตนเอง

        ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้การพยาบาล โดยจัดกลยุทธ์เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองในหญิงวัยหมดประจำเดือนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

Abstract

        This study was a mixed method research. The purpose of the research was to study the predictability of preventive behaviors for coronary heart disease and stroke among menopausal women, according to the following factors: blood pressure value, plasma glucose level, body mass index, perceived benefits, perceived self-efficacy and perceived barriers.These predicting factors influenced the preventive behaviors for coronary heart disease and stroke among menopausal women. The study was conducted based on the concept of Pender’s health promotion model (2002). The 100 samples using health service at a tertiary hospital were selected based on the inclusion criteria. The data were collected via questionnaires which included personal information, preventive behaviors for coronary heart disease and stroke, perceived benefits, perceived self-efficacy, perceived barriers, and In-depth interview related to behaviors of preventing coronary heart disease and stroke.The quantitative data analysis was done by descriptive statistics and multiple regression.The qualitative data was done by content analysis.

        The results of the study revealed that most samples (74.0 percent) had a high level of perceived benefits of preventive behaviors for coronary heart disease and stroke. Overall, the factors of perceived self-efficacy (β = .58,  p < .001) and body mass index (β = -1.57, p < .05) could be explained the variation of preventive behaviors for coronary heart disease and stroke among menopausal women by 35.8 percent (R2 =.358) with statistical significance (p < .001). The qualitative data analysis found that barriers of preventive behaviors for coronary heart disease and stroke among the samples included a lack of perception that they were at high risk of these diseases, as well as the lack of motivation to perform appropriate self-care.

The research results can be used as a guide to nursing care by creating more effective strategies of preventing for coronary heart disease and stroke among menopausal women.