Factors Affecting Post-Operative Quality of Life in Gastrointestinal Cancer Patients

ประภาพร จินันทุยา, อัญชลี ชูติธร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอำนาจการทำนายของระดับอัลบูมินในเลือดก่อนผ่าตัด  ความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการหลังผ่าตัด ดัชนีมวลกายหลังผ่าตัด และน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงหลังผ่าตัดกับคุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็งทางเดินอาหาร โดยใช้กรอบแนวคิดการปรับตัวของรอย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งทางเดินอาหารในโรงพยาบาลศูนย์ตติยภูมิเฉพาะทางแห่งหนึ่ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบประเมินภาวะโภชนาการ และแบบคัดกรองภาวะทุพโภชนาการ ส่วนที่ 3 แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการเลือกตัวแปรแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยระดับอัลบูมินในเลือดก่อนผ่าตัด  ความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการหลังผ่าตัด ดัชนีมวลกายหลังผ่าตัด และน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงหลังผ่าตัดสามารถอธิบายความผันแปรคุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดด้านการทำหน้าที่ ร้อยละ 17 (R2 = .17, F = 4.143; p < .01) ด้านการรับรู้อาการ  ร้อยละ 13 (R2 = .132, F = 3.035; p < .05) และด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวม ร้อยละ 12  (R2 = .120, F = 2.734; p < .05)

จากผลงานวิจัยครั้งนี้ พยาบาลควรประเมินติดตามปัจจัยด้านโภชนาการทั้งระยะก่อนและหลังผ่าตัดและนำความรู้มาใช้ในการพัฒนารูปแบบการดูแลโภชนาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตหลังผ่าตัดในโรงพยาบาล

Abstract

     The objective of this predictive
correlation study was to investigate the predictive power of preoperative serum
albumin, postoperative risk of malnutrition, postoperative body mass index, and
postoperative weight change on postoperative quality of life (QOL) in patients
with gastrointestinal cancer using three main scales; functional scales, symptom
scales, and global health and QOL scale. The Roy Adaptation model was used as a
research framework. Eighty-five patients with gastrointestinal cancer who had
undergone surgery at a super tertiary hospital were recruited using purposive
sampling. The research instruments consisted of 1) a personal data form 2)
Nutritional status form and Malnutrition Screening Tool (MST) and 3) The
European Organization for Research and Treatment of Cancer Quality of Life
Questionnaire-C30 (EORCT QOL-C30). The data were analyzed using descriptive
statistics and multiple regression analysis with enter method.

     The results revealed that preoperative serum albumin, postoperative weight
change, postoperative malnutrition risk, and postoperative body mass index can jointly
explain 17% (R2 = .17, F = 4.143; p <
.01), 13% (R2 = .132, F = 3.035; p <
.05), and 12% (R2 = .120, F = 2.734; p <
.05) of the variance in postoperative functional QOL scales, symptom QOL
scales, and global health and QOL scale, respectively.

     The suggestions from this study are that nurses should closely evaluate and
monitor these nutritional factors both the preoperative and postoperative
phases in order to promote patients’ postoperative QOL in hospital by receiving
adequate nutritional support.