Development of integration teaching-academic service-research model
of primary medical care course for nursing student

วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก ปีที่ 32 ฉบบั ที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2564

ณัฐชยา พลาชีวะ

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก

ดวงกมล วัตราดุลย์

บทคัดย่อ
      การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น 2) สร้างรูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคมและการวิจัยในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น และ 3) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคมและการวิจัยในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นที่พัฒนาขึ้น ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 8 คน ที่ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มโดยใช้แนวคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาตามแนวทางของไมล์และฮูเบอร์แมน (1994) กลุ่มตัวอย่างที่ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ประกอบด้วย นักศึกษาพยาบาล จำนวน 8 คน และอาจารย์พยาบาลที่สอนในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้น จำนวน 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่และร้อยละ

      ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลยังมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินภาวะสุขภาพที่ไม่เพียงพอ ขาดทักษะในการซักประวัติและการตรวจร่างกาย และขาดทักษะด้านการสื่อสารในการประเมินภาวะสุขภาพ นักศึกษาต้องการการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และการฝึกทักษะจากสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมจริง 2) รูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคมและการวิจัยในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นที่พัฒนาขึ้นจากปัญหาและความต้องการของนักศึกษา รวมถึงการบูรณาการแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนเสมือนแบบคลาวด์ และการฝึกทักษะจากการให้บริการการประเมินภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ 3) รูปแบบการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคมและการวิจัยในรายวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมในแต่ละด้านตามเกณฑ์ของ AGREEII ตั้งแต่ร้อยละ 70.24 ถึงร้อยละ 76.79

      การศึกษานี้เสนอแนะให้นำรูปแบบที่พัฒนาไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตเพื่อพัฒนาสมรรถนะการประเมินภาวะสุขภาพ และทักษะการสื่อสารของนักศึกษาพยาบาลต่อไป

คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคมและการวิจัย, การบูรณาการ, นักศึกษาพยาบาล, การรักษาโรคเบื้องต้น

 

Abstract
      The purposes of this research and development approach were to 1) study the situation of teaching and learning activities on Primary Medical Care course for nursing students, 2) develop model of integration teaching-academic service-research on Primary Medical Care course, and 3) evaluate appropriateness of the researcher-developed model of integration teaching-academic service-research on Primary Medical Care course. The key informants comprised eight nursing students, selected by purposive sampling. Data collection was using Focus Group Discussion by open-ended questionnaires. Qualitative data were analyzed using content analysis by Miles and Huberman (1994). Appropriateness of model of integration teaching-academic service-research on Primary Medical Care course for nursing students was appraised by eight nursing students and four nurse instructors, teaching Primary Medical Care course. Quantitative data was analyzed the appropriateness of model using frequency and percentage.
The results of this study indicated that 1) nursing students required to enhance competencies regarding to health assessment by more practicing about history taking, physical examination and health communication. Additionally, Blended Learning approach could be used to enhance clinical skills by rehearsal in real-life situation and environment, 2) furthermore, model of integration of teaching-academic service-research on Primary Medical Care course should add Cloud-based virtual classrooms and academic service for health assessment in aging population, and 3) based on AGREEII, the appropriateness of model of integration teaching-academic service-research on Primary Medical Care course was 70.24% to 76.79%.
Nurse instructors can apply this developed integration model to improve health assessment and health communication competencies for undergraduate nursing students.


Keywords: teaching-academic service-research model, integration, nursing student, primary medical care