A Study of Innovation-Based Learning for Nursing Students in 21st Century

https://www.researchgate.net/publication/348694546

บทคัดย่อ
       การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น ให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ ของนักศึกษาพยาบาล การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการ และผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่ผ่านการเรียนวิชาทางการพยาบาล วิจัยทางการพยาบาล และมีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐาน จานวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม เทปบันทึกเสียง และแบบบันทึกข้อมูลจากการสังเกต เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ ตรวจสอบความถูกต้อง และความเชื่อมั่นของผลการวิจัยด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามแหล่ง และการตรวจสอบแบบสามแหล่งผู้วิจัย
       ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม เป็นฐาน มี 4 ปัจจัย ได้แก่ (1) บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา (2) องค์ความรู้พื้นฐานเดิม (3) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ และ (4) การทำงานเป็นทีม 2) กระบวนการเรียนรู้ โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐาน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การค้นหาปัญหา (2) การวิเคราะห์ข้อมูล (3) การเลือกนวัตกรรม (4) การออกแบบนวัตกรรม (5) การทดลองใช้นวัตกรรม และ (6) การนานวัตกรรมไปใช้จริง และ 3) ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการเรียนรู้ คือ ผลงานนวัตกรรม

       ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนาไปใช้วางแผนจัดสรรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ของสถาบันการศึกษา และพัฒนาหรือออกแบบกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เสริมสร้างกระบวนการการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม ตลอดจนเป็นแนวทางการกำหนดบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาให้มีคุณลักษณะบัณฑิต อันพึงประสงค์ มีความสามารถและทักษะด้านนวัตกรรมต่อไป
คำสำคัญ: นวัตกรรมเป็นฐาน, การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21, นักศึกษาพยาบาล

Abstract
       Implementing innovation as the basis of learning management is the process of emphasizing self-taught practices among nursing students. This emphasis is to develop their learning potential. According to the purposes of this qualitative research, it aimed at studying the relevant factors, the processes, and the outcomes of learning management derived from the implementation of innovative-based learning among nursing students. To the participants of this study, the sixteen key informants included the third-year and fourth-year nursing students completing previous nursing subjects, nursing research methodologies, and innovative-based learning. The data were collected from a focus group discussion, voice recording, and observation forms. Further, the collected data were qualitatively analyzed based on the content analysis so as to receive the crucial synopsis. The content validity and reliability were examined by using the investigator triangulation and data source triangulation methods.

       According to the results, the study revealed the following issues: 1) the four factors related to innovative learning included: (1) the role of advisor, (2) basic knowledge, (3) information sources, and (4) teamwork. 2) The implementation of innovation as a basis of the learning process was achieved through the six main steps, including: (1) discovering problems, (2) analyzing information, (3) selecting the innovation, (4) designing the learning innovation, (5) experimenting a pilot project of learning innovation and (6)implementing the learning innovation.3)The learning outcomes were innovative products.
        To the future implication of this study, the results can be applied as a means of allocating supportive materials among educational institutions and of designing extra-curricular activities for the improvement of learning processes via innovation. Moreover, this study can considerably pave the way for determining the roles of advisors which help increase students’ potentials toward the desired characteristics of graduates and the forthcoming possession of innovative skills.

Keywords: innovation-based learning, 21st century learning, nursing students