Prevalence of cognitive impairment in patients with stroke: secondary data analysis

เวชสารแทพย์ทหารบก Vol. 74 No. 1 (2564): January-March 2021 

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก  วชิรา โพธิ์ใส ราตรี บุญชู และ ดวงกมล วัตราดุลย์

บทคัดย่อ
   บทนำ ความสามารถของสมองบกพร่องเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ 

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 

วิธีการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล ทุติยภูมิจากโครงการวิจัยเรื่อง ความรอบรู ้ด้านสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 180 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพสมองของไทย ใช้สถิติ Logistic Regression Analysis ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะความสามารถของสมองบกพร่อง 

ผลการศึกษา ความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 17.22 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะความสามารถของสมองบกพร่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) คือ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (AOR = 3.180, 95%CI: 1.304-7.753) 

สรุป กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่อง ร้อยละ 17.20 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความสามารถของสมองบกพร่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องจึงควรตระหนัก และหาแนวทางในการจัดการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวต่อไป
คำสำคัญ: ภาวะความสามารถของสมองบกพร่อง  ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  ความชุก

Abstract

   Background: Cognitive impairments in patients with stroke survivors occurs frequently. The prevalence of cognitive impairment in patients with stroke cases that varies, which the difference between the countries. Objective: To study the prevalence of cognitive impairment in patients with stroke and factors that correlate with cognitive impairment in patients with stroke. Methods: This study is a secondary data analysis from the research project “mental health literacy and mental health disorders among patients with stroke”. This study was comprised a cross-sectional descriptive study. One hundred and eighty Thai patients with stroke in Sanpasithiprasong Hospital, Ubon Ratchathani Province were included in this study. The subjects were asked to complete the Thai metal state examination (TMSE). Logistic Regression Analysis was used to identify associated factors, show the result as an adjusted odds ratio and 95% confidence interval. Result: The prevalence of cognitive impairment in patients with stroke was 17.22%. The factors that statistically significantly (p < 0.05) associated with cognitive impairment in patients with stroke were patients who had age ≥ 60 years old (AOR=3.180, 95%CI 1.304-7.753). Conclusion: These findings showed cognitive impairment in patients with strokes was 17.22%. The factors that associated with cognitive impairment in patients with stroke were patients who had age ≥ 60 years old. Awareness and development guidelines to care management in cognitive impairment in post-stroke patients should be considered for health care professions.

Keywords: Cognitive Impairment, Stroke, Prevalence