Selected factors related to health promoting behaviors among older adults
of the elderly school in the community

วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2563

คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์
วรพนิต ศุกระแพทย์
จิราภรณ์ เพียรประสิทธิ์
ปุณฑรี พิกุลณี
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก

บทคัดย่อ
       การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย คัดสรรกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนเทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 150 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพคนไทย ฉบับสั้น และ 3) แบบสอบถาม พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน
       ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 2.99, S.D. = 0.39) ภาวะสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.497, p < .01) อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.161, p < .05) และดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.180, p < .05)
ผลจากการวิจัยนี้ช่วยให้ตระหนักและเข้าใจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชนโดยเฉพาะภาวะสุขภาพจิต ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ใน การพัฒนาแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, โรงเรียนผู้สูงอายุ, ชุมชน

Abstract
      The purpose of this descriptive research was to examine the relationship between selected factors and health promoting behaviors among older adults of the elderly school in the community. The purposive sample of 150 older adults of the elderly school in the community who met the inclusion criteria were recruited from Bansuan municipality, Mueang district, Chonburi Province. The research instruments were: 1) the personal information 2) the short version of Thai mental health indicator and 3) the health promoting behavior questionnaire. Data was analyzed by using descriptive statistic, Pearson’s product moment correlation coefficient and the Spearman rank correlation coefficient.
       The results of this study found that older adults living in the community had a mean score of an overall health promoting behaviors at high level (Mean = 2.99, S.D. = 0.39). Mental health status has significantly positive relationship with health promoting behaviors (r = 0.497, p < .01). Age has significantly positive relationship with health promoting behaviors (r = 0.161, p < .05). Body mass index has significantly negative relationship with health promoting behaviors (r = -0.180, p < .05).
The findings of this study can enhance awareness and understanding with the factors related to health behavior among older adults of the elderly schools in the community especially mental health status. In addition, the guideline of health promoting behaviors in older adults of the elderly school in the community should be developed based on the findings in this study.
Keywords: community, older adults, health promoting behaviors, elderly school