Effects of innovation-based learning on twenty-first century skills and learning experiences among nursing students

วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ Vol. 14 No. 2 (2020): May – August 2020

ภราดร ยิ่งยวด
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก
ณัฐปัณฑ์ เพียรธัญญกรรม
วริณญา อาจธรรม
ทัตภณ พละไชย
อานนท์ สังขะพงษ์

บทคัดย่อ
บทนำ: การเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และประสบการณ์เรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล


วิธีการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองชนิดศึกษาสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 38 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐาน จำนวน 8 ครั้ง
ครั้ง ละ 60 นาที รวม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทัว่ ไป แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และแบบประเมินประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .98 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ และสถิติทดสอบค่าที และสถิติทีคู่


ผลการวิจัย: พบว่าค่าเฉลี่ยทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของกลุ่มทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า ค่าเฉลี่ยทักษะในศตวรรษ ที่ 21 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<.05) กลุ่มทดลองมีประสบการณ์การเรียนรู้จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานอยู่ในระดับสูง ( x = 4.01, SD = 0.01)


สรุปผล: ประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐาน สามารถส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และประสบการณ์เรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ควรนาไปเป็นแนวทางการในจัดการกิจกรรมเสริมหลักสูตร และแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตนวัตกรรมสุขภาพสาหรับนักศึกษาพยาบาล

คำสำคัญ: นวัตกรรมเป็นฐาน ประสบการณ์การเรียนรู้ นักศึกษาพยาบาล ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


Abstract

Background: Innovation-based learning is an education model that aims to focus on students’ experience through hands on approach, which is a strategy to promote learning skills in the twenty-first century.

Objective: The aim of this research was to investigate the effects of innovation-based learning on twenty-first century skills and learning experiences among nursing students.

Methods: A quasi-experimental research utilizing a two-group pretest–posttest design was used. The sample consisted of nursing students allocated to an experimental group (n=38) and control group (n=37). The experimental group participated in innovation-based learning for eight weeks. Data were collected with a twenty-first century skills and learning experiences questionnaire. The reliability of the twenty-first century skills questionnaire was 0.98 and the learning experiences questionnaire was 0.95, based on Cronbach’s alpha reliability coefficient method. The data were analyzed by Pearson chi-square, independent-sample t-test, and paired-sample t-test.

Results: The findings revealed that the twenty-first century skills score after the experiment was higher than before the experiment in the experimental group (p<0.05). Additionally, the twenty-first century skills score in the experimental group was higher than the control group (p<0.05). The experimental group was at a high level for learning experiences with innovation-based learning (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{x}= 4.01, SD = 0.01).

Conclusions: The effects of innovation-based learning (IBL) by promoting learning skills in twenty-first century and learning experiences of nursing students should be used as a guideline of extracurricular activities and as a model of health innovation process development for nursing students.

Keywords:

innovation-based learning, twenty first century skills, nursing students, learning experience