Effects of Self-Efficacy-Promoting Programme on Self-Care Ability of Persons with Stoma

Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council Vol. 36 No.1 January-April 2021

ศิริพรรณ ภมรพล, บังอรน้อยอ่ำ, ประพนธ์ กาญจนศิลป์

บทคัดย่อ 

     วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความสามารถในการดูแล ตนเองของผู้ที่มีทวารใหม่ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน

     การออกแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง

     การดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดทวารใหม่ ชนิดถาวรแบบนัดล่วงหน้าในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ ที่กําหนด จัดเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้ รับการพยาบาลตามมาตรฐาน 29 ราย และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ แห่งตน 28 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนเกี่ยวกับการดูแลทวารใหม่ และแบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองเกี่ยวกับ ทวารใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบที ผลการวิจัย: 1) คะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ที่มีทวารใหม่หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริม การรับรู้สมรรถะแห่งตนสูงกว่าก่อนทดลอง (p<0.05) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p<0.05) 2) คะแนนความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ที่มีทวารใหม่หลังได้รับ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05)

     ข้อเสนอแนะ: พยาบาลและทีมสุขภาพสามารถนําโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความสามารถในการดูแลตนเองใน ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดเปิดทวารใหม่ตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด ภายหลังผ่าตัด และภายหลังจําหน่าย ออกจากโรงพยาบาล

คำสำคัญ : โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความสามารถในการดูแลตนเอง ทวารใหม่

Abstract

Abstract

 Objective: To compare the self-effcacy and self-care ability of persons with stoma, before and after receiving a self-effcacy-promoting programme
Design: Two-group quasi-experimental research with a pretest and a posttest
Methodology: The subjects of the study were 57 patients who, by prior appointment, received permanent stoma surgery. After being recruited by means of simple random sampling, 29 of the patients were assigned to the control group, which received standard care, whilst the other 28 were assigned to the experimental group, which was given the self-effcacy promoting programme. Data gathering was conducted using a personal information record form, the Stoma Self-Effcacy Scale, and the Stoma Self-Care Ability Scale. Descriptive statistics and t-test were employed for data analysis.
Results: First, the experimental group’s post-intervention perceived self-effcacy score was signifcantly higher than its pre-intervention score (by p < 0.05), and signifcantly higher than that of the control group (by p< 0.05). Second, the experimental group scored signifcantly higher on self-care ability than the control group did (by p <0.05).
Recommendations: It is recommended that nurses and healthcare teams implement this self-effcacy promoting programme to promote self-effcacy and self-care ability in stoma surgery patients, in the pre-operative, post-operative, and post-discharge stages.

Keywordsself-effcacy-promoting programme, self-care ability, stoma