FACTORS PREDICTING POSITIVE AND NEGATIVE EXPERIENCES IN PROVIDING CARE TO SCHIZOPRENIC PATIENTS OF CAREGIVERS
THE JOURNAL OF PSYCHIATRIC NURSING AND MENTAL HEALTH Vol. 34 No. 1 (2020): January-April
สุจรรยา โลหาชีวะ, นันทภัค ชนะพันธ์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ประสบการณ์ทางบวกและทางลบในการดูแล ผู้ป่วยจิตเภทของญาติผู้ดูแล ปัจจัยคัดสรรที่ศึกษา ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต และ การรับรู้แหล่งสนับสนุนทางสังคม
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการ วิจัยเชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยมารับบริการที่แผนก ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยแห่ง หนึ่ง กรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน เก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความ รุนแรงของอาการทางจิต แบบสอบถามการรับ รู้แหล่งสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถาม ประสบการณ์การดูแล วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูล ตัวแปรทำนาย ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของ อาการทางจิต และการรับรู้แหล่งสนับสนุนทาง สังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา:
- การรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต และการรับรู้แหล่งสนับสนุนทางสังคม สามารถ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสบการณ์ ทางลบในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของญาติผู้ดูแลได้ ร้อยละ 37.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยการรับรู้อาการทางจิตเป็นปัจจัยที่มีอิ ทธิพลต่อ ประสบการณ์ทางลบในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของ ญาติผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .612, p < .001)
- การรับรู้ความรุนแรงของอาการทางจิต และการรับรู้แหล่งสนับสนุนทางสังคม สามารถ ร่วมกันทำนายประสบการณ์ทางบวกในการดูแล ผู้ป่วยจิตเภทของญาติผู้ดูแลได้ร้อยละ 9.8 อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยการรับรู้แหล่ง สนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ประสบการณ์ทางบวกในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ของญาติผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .303, p < .05)
สรุป: ผลการวิจัยเสนอแนะว่าพยาบาล จิตเวชควรเพิ่มความเข้าใจกับญาติผู้ดูแลเกี่ยว กับอาการทางจิตของผู้ป่วย วิธีการในการเข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากแหล่งสนับสนุนทาง สังคมเพื่อช่วยให้ญาติผู้ดูแลมีการเผชิญปัญหาที่ เหมาะสม อันอาจนำไปสู่การลดประสบการณ์ ทางลบและเพิ่มประสบการณ์ทางบวกในการดูแล ผู้ป่วยจิตเภทของญาติผู้ดูแลได้
Abstract
Objective: To examine factors predicting positive and negative experiences in caring for persons with schizophrenia of family caregivers. The selected factors included perceived seriousness of illness, and perceived social support. The conceptual model was based on Lazarus and Folkman’s theory of stress and coping (Lazarus & Folkman, 1984).
Methods: This study was a predictive research. Subjects were 70 family caregivers of persons with schizophrenia who brought the patients to receive service at outpatient departments of a hospital located in Bangkok. Data were collected during May–August 2017. Research instruments included the demographics questionnaire, The Behaviors and Symptom Perception Scale, Social Support Questionnaire, and Expe-rience of Caring Inventory. Data were analyzed by descriptive statistics and multiple regression.
Results: 1) Perceived seriousness of illness and perceived social support could jointly explain 37.6% of the variance of negative experiences in caring for persons with schizophrenia of family caregivers (p < .05). Perceived seriousness of illness was a factor which had a statistically significant influence on negative experiences in caring for persons with schizophrenia of family caregivers (β = .612, p < .001); 2) Perceived seriousness of illness and perceived social support could jointly explain 9.8% of the variance of positive experiences in caring for persons with schizophrenia of family caregivers (p < .05). Perceived social support was a factor which had a statistically significant influence on positive experiences in caring for persons with schizophrenia of family caregivers (β = .303, p < .05).
Conclusion: The results suggested that psychiatric nurses should increase understanding of family caregiver about the illness, ways to access and utilize social support resources in order to help them deal with the problems appropriately. This may lead to reduce negative experience and increase positive experience of family caregivers in caring for persons with schizophrenia.