Needs and Preparedness for Caregivers to care for Medical Critically-Ill Patients: A Mixed-Method Study

Thai Red Cross Nursing Journal Vol. 13 No. 1 (2020): January – June

มลธิรา อุดชุมพิสัย, นันทิยา แสงทรงฤทธิ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิด Timing It Right (TIR) เพื่อศึกษา 1) ระดับและชนิดความต้องการของญาติ 2) ระดับความพร้อม อุปสรรคและปัจจัยส่งเสริมให้เกิดความพร้อมของญาติในการผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์จำนวน 70 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของญาติและลักษณะผู้ป่วย แบบประเมินความต้องการของญาติ แบบประเมินความพร้อมในการดูแลของญาติผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม และการสัมภาษณ์ด้วยแนวคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของ Schreier เพื่อตีความปรากฏการณ์ความต้องการและความพร้อมในการดูแลของญาติผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมร่วมกัน

            ผลการศึกษาพบความต้องการของญาติในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมอยู่ในระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ย 3.57 (S.D .49) โดยความต้องการด้านความเชื่อมั่นและลดความวิตกกังวลมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3.99 (S.D .12) ทั้งนี้ญาติต้องการทราบอาการและการรักษาของผู้ป่วย โอกาสในการเสียชีวิต และอยากให้โรงพยาบาลช่วยค่าใช้จ่ายในการรักษา ความพร้อมในการดูแลของญาติผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.91 (S.D .64)  โดยความพร้อมที่จะทำให้ทั้งตนเองและผู้ป่วยมีความพึงพอใจมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3.07 (S.D .76) อุปสรรคของผู้ดูแล คือไม่มีเวลาดูแลเต็มที่เพราะต้องทำงานหารายได้ รองลงมาคือไม่ทราบว่าจะเตรียมตัวเป็นผู้ดูแลอย่างไร ปัจจัยสนับสนุนความพร้อมในการดูแลคือ ความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่และความรักความผูกพันที่มีต่อผู้ป่วย และการได้รับการสอนวิธีการดูแล

             ผลการวิจัยจะช่วยให้เข้าใจความต้องการของญาติ และความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมและนำไปพัฒนาโปรแกรมเพื่อตอบสนองความต้องการและส่งเสริมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม

Abstract

            This mixed-method study was conducted employing Timing It Right (TIR) as its conceptual framework. It aimed to study 1) the level and types of caregiver needs, and 2) the level of preparedness, barriers, and supporting factors promoting the preparedness of caregivers in caring for medical critically-ill patients. Seventy participants who met the inclusion criteria were enrolled in the study. Data collection involved questionnaires inquiring about the caregivers’ personal information, needs, and preparedness, as well as interviews with open-ended questions. Descriptive statistical and content analyses using Schreier’s method were used to scrutinize and interpret the data and to describe the phenomena related to needs and preparedness of caregivers to medical critically-ill patients  

            The findings revealed that the needs of caregivers to medical critically-ill patients were at a moderate level (average score 3.57) (S.D .49), and the dimension of needs regarding confidence and the reduction of anxiety had the highest scores (3.99) (S.D .12). In addition, the caregivers needed to know about the symptoms and treatment of patients, chance of patient death, and receipt of financial assistance from hospitals to support the cost of care. The preparedness of caregivers to care for medical critically-ill patients was also at a moderate level (average score 2.91) (S.D .64); the dimension of preparedness to make caregiving activities pleasant for both the caregiver and the patient exhibited the highest score (3.07) (S.D .76). Barriers to caregiving included lack of time to take full care due to work, and lacking confidence about how to prepare to be a caregiver. Meanwhile, the feeling of duty, the love for and attachment to patients, and receipt of instruction on how to provide care were supporting factors for caregiving preparedness.

           The results of this study highlight the needs and levels of preparedness of caregivers to medical critically-ill patients. Further research is recommended to develop programs aimed at responding to the needs and promoting preparedness of caregivers to medical critically-ill patients.