Factors predicting evidence-based practice of stroke nursing
วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก Vol. 31 No. 1 (2020): January – June
ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์, ดวงกมล วัตราดุลย์
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล การค้นหาและใช้แหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์ และอุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ต่อพฤติกรรมการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลโรคหลอดเลือดสมอง 2) ศึกษาปัจจัยทำนายการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ จำนวน 104 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่ายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามการค้นหาและใช้แหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แบบสอบถามอุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงาน และการค้นหาและใช้แหล่งของข้อมูลเชิงประจักษ์ระดับ D อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01, r = 0.30 และ r = 0.32) นอกจากนี้การใช้แหล่งข้อมูลเชิงประจักษ์ระดับ D และการปฏิบัติงานในหน่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) สามารถทำนายการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ได้ร้อยละ 16 (R2 = 0.16, p<0.01, β = 0.27 และ 0.23)
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา พยาบาลควรได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้และความสามารถในการค้นหาข้อมูลเชิงประจักษ์จากแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมทั้งควรได้รับการสนับสนุนและแรงจูงใจในการนำข้อมูลเชิงประจักษ์ไปพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Abstract
This predictive research aims to 1) examine the relationships among personal information, finding and using sources of evidence-based information, barriers to implementing evidence-based practice, for behaviors of evidence-based nursing practice for stroke care and 2) study factors influencing the behaviors of evidence-based nursing practice for stroke care. The samples were 104 nurses who caring for stroke patients in secondary and tertiary hospitals. Participants were enrolled by using simple random sampling method, via computer software. The research instruments consisted of four questionnaires as 1) demographic data, 2) finding and using sources of evidence-based information, 3) barriers to implementing evidence-based practice, and 4) behaviors of evidence-based nursing practice for stroke care. Data were analyzed using Pearson’s correlation and Stepwise multiple regression statistics.
The results revealed that the behaviors of evidence-based nursing practice for stroke care were positively correlated with the wards in hospital and the finding and using sources of evidence-based information at level D significantly (p<0.01, r = 0.30, r = 0.32). Additionally, the finding and using sources of evidence-based information at level D and the working in Stroke unit were significant predictors of the behaviors of evidence-based nursing practice for stroke care by 16 % (R2 = 0.16, p<0.01, β = 0.27, 0.23)
The study suggests that nurses who caring for stroke patients should improve knowledge and skill to find evidence-based information from the quality and credible sources, including receiving support and motivation to use empirical data to improve stroke nursing.