The Study of Knowledge, Attitude and Behavior of Nurses to Caring for the Elderly with Delirium after Cardiac Surgery

Journal of The Royal Thai Army Nurses Vol. 21 Volume 2 May – August 2020

พรนภา นาคโนนหัน, จุฬาลักษณ์ ใจแปง, ณาตยา โสนน้อย, สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์

บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการ ผ่าตัด ทัศนคติต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด และพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลัง การผ่าตัดหัวใจ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ และทัศนคติ ต่อพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ สับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกจํานวน 61 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันหลัง การผ่าตัด แบบสอบถามทัศนคติต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด และแบบสอบถามพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 80 87 และ 94 ตามลําดับ

      ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด เฉลี่ยเท่ากับ 16.37 จาก 20 คะแนน (S.D. = 2.77) ค่าคะแนนทัศนคติต่อภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด เฉลี่ยเท่ากับ 3.62 จาก 5 คะแนน (S.D. = 0.49) ค่าคะแนน พฤติกรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด เฉลี่ยเท่ากับ 3.99 จาก 5 คะแนน (S.D. = 0.57) ปัจจัยด้าน ความรู้ และทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด (p>.05)

Abstract

    This descriptive research aimed to study 1) Knowledge about postoperative delirium, attitude towards postoperative delirium and behavior of nurses to caring for the elderly with postoperative delirium after cardiac surgery 2) The relationship between the knowledge and attitude on the behavior of nurses to caring for the elderly with delirium after cardiac surgery.

    The sample is 61 registered nurses in the cardiac and thoracic surgery ward. The research instrument consisted of a personal data record form, the knowledge questionnaire about postoperative delirium, the Attitude questionnaire towards postoperative delirium, and the Behavior questionnaire of nurses to caring for the elderly with delirium after cardiac surgery. The reliability of the instruments was 80, 87, and 94 respectively.

    The results showed that the mean score of knowledge about postoperative delirium was 16.37 from 20 points (S.D. = 2.77). The mean score of attitude towards postoperative delirium was 3.62 from 5 points (S.D. = 0.49). The mean score of the behavior of nurses to caring for the elderly with delirium after cardiac surgery 3.99 from 5 points (S.D. = 0.57). The knowledge and attitude did not correlate with the behavior of nurses to caring for the elderly with postoperative delirium after cardiac surgery (p> .05).