The Effects of Using Nano-Zinc Oxide Fabrics on Bed-Ridden Patients’ Skin Rash, Moisture and Temperature in the Klongtoey Area of Bangkok.

Thai Red Cross Nursing Journal Vol. 13 No. 1 (2020): January – June

ม.ล. สมจินดา ชมพูนุท, วรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว, ปิยะพร คามภีรภาพพันธ์

บทคัดย่อ

                 การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดและระยะเวลาการหายของผดผื่นบริเวณผิวหนัง และเปรียบเทียบความชื้น อุณหภูมิ บริเวณผิวหนังของผู้รับบริการติดเตียง ศึกษาผู้รับบริการติดเตียงจำนวน 62 ราย แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 31 ราย นอนบนผ้าปูที่นอนนาโนซิงค์ออกไซด์ และกลุ่มควบคุม จำนวน 31 ราย นอนบนผ้าปูที่นอนปกติ ทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลตามปกติจากผู้ดูแล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการประเมินผดผื่น ค่าความชื้นและค่าอุณหภูมิของผิวหนังบริเวณหลัง สะโพก ขา ทำการวัดในวันที่ 1, 3, 5, 7, 9, 11 และ 14 วิเคราะห์สถิติค่าอุบัติการณ์  ส่วนเปรียบเทียบค่าความชื้นและค่าอุณหภูมิของผิวหนังระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง สถิติ Repeated Measure ANOVA

               ผลการวิจัย ไม่พบอุบัติการณ์การเกิดผดผื่นทั้งสองกลุ่มหลังการทดลอง  เริ่มการทดลองมีผู้รับบริการที่มีผดผื่นบริเวณหลัง สะโพก และขา จำนวน 7 ราย เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 5 ราย มีระยะเวลาในการหาย ตั้งแต่ 4-8 วัน กลุ่มควบคุม จำนวน 2 ราย มีผื่นแดงจางตลอดระยะเวลาศึกษา ค่าเฉลี่ยความชื้นผิวหนังบริเวณหลังและสะโพก และค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวหนังบริเวณหลัง สะโพกและขา มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าผ้าปูที่นอนนาโนซิงค์ออกไซด์ช่วยลดความชื้นบริเวณหลังและสะโพกซึ่งเป็นตำแหน่งที่มักเกิดผดผื่น และลดอุณหภูมิบริเวณหลัง สะโพกและขา ได้ด้วย ทั้งนี้ควรมีการนำไปทดสอบในกลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติมหรือนำไปทดสอบตัดเป็นชุดสำหรับให้ผู้รับบริการติดเตียงสวมใส่

Abstract

               This quasi-experimental research aimed to study the incidence and duration of rash on the skin of bedridden patients. The moisture and temperature on bedridden patients’ skin were compared between nano-zinc oxide bed sheets and normal bed sheets. The 62 bedridden patients were divided into 2 groups – 31 patients who received normal care with nano-zinc oxide bed sheets as the experimental group and 31 patients who received normal care and normal bed sheets as the control group. Data were collected by using a general data questionnaire, assessment form for skin rash, and skin moisture and temperature data records for the back, hips and legs at days 1, 3, 5, 7, 9, 11, and 14. The data were analyzed for incidence values. The moisture and temperature values between the control and experimental group were analyzed with repeated measures ANOVA.

The results of the research revealed the following:

  1. After the experiment, there was no incidence of rash on the skin of neither the control nor the experimental groups.
  2. The skin rash for the back, hips and legs of 7 subjects – 5 from the experimental group and 2 from the control – which appeared before the study disappeared and turned to normal within 4-8 days for the experimental group, while the ones in the control group still remained throughout the study period.
  3. The mean score of skin moisture for the back and hips and the mean score of skin temperature for the back, hips and legs of the experimental group were statistically significantly better than those of the subjects in the control group (p < .05).

              It appears that nano-zinc oxide bed sheets can reduce moisture for the back and hips, the areas where the rash most often appears; moreover, it can reduce temperature for the back, hips and legs. However, further research should include nano-zinc fabric to more subjects or include the use of clothing for bedridden patients.