The Effectiveness of Earthquake Preparation Program by Nurses in Elementary School in Chiangrai’s Risk Area: Pilot Study

Journal of The Royal Thai Army Nurses Vol. 21 Volume 2 May – August 2020

ปัญจพาณ์ สุขโข, วรุณยุพา รอยกุลเจริญ, เครือวัลย์ ศรียารัตน์, พิไลลักษณ์ โรจนประเสริฐ, สุวิทย์ โคสุวรรณ, กฤชเพชร เพชระบูรณิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 1 กลุ่ม วัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม การเตรียมความพร้อมของนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่เสี่ยง จังหวัดเชียงรายต่อความรู้เกี่ยวกับ แผ่นดินไหวและการเอาตัวรอดในสถานการณ์แผ่นดินไหว การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์แผ่น ดินไหว และพฤติกรรมการเผชิญสถานการณ์แผ่นดินไหวจําลอง ทําการสุ่มอย่างง่าย จํานวน 1 โรงเรียน ประกอบด้วยนักเรียน ครู และบุคลากรของโรงเรียนจํานวน 36 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์แผ่นดินไหวใช้ระยะ เวลาดําเนินการ 2 12 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการเอาตัวรอดในสถานการณ์ แผ่นดินไหว แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์แผ่นดินไหวจําลอง และแบบสังเกต พฤติกรรมการเผชิญสถานการณ์แผ่นดินไหวจําลอง และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลทันทีหลังได้รับโปรแกรม และวัตซ้ําในเดือนที่ 3 และเตือนที่ 6 หลังการเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์โดยการทดสอบ Repeated measure ANOVA ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มนักเรียน ครู และบุคลากรมีความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการเอาตัวรอดในสถานการณ์แผ่นดินไหว การรับรู้ความสามารถของตนเองใน การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์แผ่นดินไหวจําลอง และมีคะแนนพฤติกรรมการเผชิญสถานการณ์แผ่นดินไหวจําลองสูงขึ้น อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ผลการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางสําหรับพยาบาลในการจัดสาธารณภัยเพื่อเตรียมพร้อมรับแผ่นดินไหวให้กับโรงเรียน และสามารถนําผลการวิจัยไปพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการพยาบาลให้มีทักษะในการจัดการ สาธารณภัยโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Abstract

This research was a one group pretest-posttest quasi-experimental design. The purposes of the study here to examine the effectiveness of the “Earthquake Preparation Program” for students, teacher and staff in elementary schools in high risk areas in Chiang Rai on knowledge about earthquakes and survival in earthquake situations, self-efficacy perception and behavior in coping with simulated earthquake situation. Randomly selected by 1 school consisting of 36 students, teacher and staff. The sample received the preparation program for the earthquake situation of 2 days. Data more collected by using the earthquake knowledge and survival questionnaire, self-efficacy in perception for earthquake questionnaire and the behavior observation form to simulated earthquake simulations. Data was collected immediately after receiving the program and repeated measurements in the 39 and 6th months after the program participation. Repeated measure ANOVA was used to analyze the data. The results showed that students, teachers and staff group; there were statistically significant higher mean scores of knowledge, self-efficacy perception, and behavior in coping earthquake simulated situation immediately right after receiving the program, while after 3 months and after 6 months than prior participating in the program at p value <.01.

The results of the research can be used as a guideline for nurses in disaster management to prepare for the earthquake preparedness training for schools. In addition for the results of the research can improve nursing competency to have skills in school disaster management effectively.