Risk Factors for Postoperative Cognitive Dysfunction after Coronary Artery Bypass Grafting in Older Adults

Nursing Journal of the Ministry of Public Health No. 2 May – August 2020 

พรนภา นาคโนนหัน, เอมปภา ปรีชาธีรศาสตร์, ชนาพงษ์ กิตยารักษ์

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านความรุนแรงของโรคร่วมภาวะการตอบสนองการอักเสบทั่วร่างกายความปวด และภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัดต่อการเกิดภาวะความผิดปกติด้านการรู้คิดภายหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทยแบบประเมินความรุนแรงของโรคร่วม แบบประเมินการตอบสนองต่อการอักเสบแบบประเมินความปวด และแบบประเมินภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคแสควร์ (chi-square) และสถิติถดถอยโลจิสติก (logistic regression analysis) ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 49.20 ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะความผิดปกติด้านการรู้คิดหลังการผ่าตัดวิเคราะห์สถิติถดถอยโลจิสติกพบว่าการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายความปวด และภาวะสับสนเฉียบพลันหลังการผ่าตัด ร่วมกันทำนายการเกิดภาวะความผิ ดปกติด้านการรู้คิดหลังการผ่าตัดได้ ร้อยละ 35.7 (Nagelkerke R2=.357, p<.05) แต่ความรุนแรง ของโรคร่วมไม่สามารถทำนายการเกิดภาวะความผิดปกติด้านการรู้คิดหลังการผ่าตัดได้ ดังนั้นควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านการรู้คิดภายหลังการผ่าตัดเพิ่มเติมอย่างไรก็ ตามผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังและวางแผนป้องกันการเกิดความผิดปกติด้านการรู้คิดหลังการผ่าตัดได้

Abstract

      The purpose of this research was to investigate risk factors of comorbidity, inflammatory response, postoperative pain, and postoperative delirium for postoperative cognitive dysfunction (POCD) in older adults undergoing coronary artery bypass grafting. The sample consisted of 120 older adults who had coronary artery bypass grafting. Data were collected by using the Mini-Mental State Examination (MMSE-Thai 2000), the Charlson Comorbidity Index (CCI), the Systemic Inflammatory Response Syndrome (SIRS) scale, the Postoperative Pain scale and the Thai version of the Confusion Assessment Method (CAM). Data analysis was done using chi-square and logistic regression. The results revealed that 49.20 percent of the sparticipants had postoperative cognitive dysfunction. Logistic regression analysis showed that inflammatory response, postoperative pain, and postoperative delirium together predicted with 35.7 percent of the variation in postoperative cognitive dysfunction (Nagelkerke: R2=.357, p<.05) but comorbidity was not significant for predicting postoperative cognitive dysfunction. Therefore, the factors associated with postoperative cognitive dysfunction should be further studied. However, these research findings can be developed for surveillance and care plans so as to prevent the incidence of postoperative cognitive dysfunction.