Effect of Self-Efficacy Promoting Program on Self-Efficacy and Safety Behavior of Caretaker among Pre-School Children in Low Income and Multiple Deprived Families

Journal of The Royal Thai Army Nurses Volume 20 Vol 3 September – December 2019

จิราวรรณ กล่อมเมฆ, ชญาภรณ์ ตีวารี, อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัตก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถและ พฤติกรรมการดูแลความปลอดภัยของผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนที่ยากจนและมีความขาดแคลนแบบพหุปัจจัยก่อนและหลังเข้าร่วม โปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และตามเกณฑ์คัตเข้า จํานวน 30 ราย ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแล และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลความปลอดภัยของผู้ดูแลเด็ก โดยผ่านการตรวจความตรง และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 90 และ 86 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และการทดสอบที ที่ระดับนัยสําคัญที่ 05

ผลการวิจัย พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรม คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรมการดูแลความปลอดภัย ของผู้ดูแลเด็กสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t = 523, p < .001 และ t = 5.23, p < .001 ตามลําดับ) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลและผู้กําหนดนโยบายเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยในเด็ก สามารถนําโปรแกรมสร้างเสริมการ รับรู้ความสามารถของตนเองนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างนโยบายป้องกันการบาดเจ็บในเด็กที่ครอบครัวยากจนและมีความขาดแคลน แบบพหุปัจจัย

Abstract

      This quasi-experimental one-group pretest-posttest research aimed to compare self-efficacy and safety behavior of caretaker among pre-school children in low income and multiple deprived families study before and after of self-efficacy promoting program. Simple random sampling with inclusion criteria was used to recruit a sample of 30 caretakers who are living in Bangkok. The instruments used in this research include a demographic questionnaire, self-efficacy of the caretaker questionnaire, and safety behavior of the caretaker questionnaire. All instruments had content validity. The Cronbach’s alpha reliability of the questionnaires was 90 and 86 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistic and t-test with statistical significance at .05.

      The results found after the program showed that mean score of self-efficacy and safety behavior of caretaker among pre-school children were higher than before the program with a statistic significant (t = 5.23, p < .001 and t = 5.23, p <.001 respectively). These findings suggest that nurses and other health policymakers relating to child safety could apply this self-efficacy promoting program to build up policies protecting home child’s injuries in low income and multiple deprived families.